วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
สบู่ดำ พืชพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ อนาคตดีแน่ แต่อย่าวู่วาม
ข้อคิดเตือนใจจาก ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ แห่ง มก.กำแพงแสน สบู่ดำ พืชพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ อนาคตดีแน่ แต่อย่าวู่วาม...เป็นชื่อของบทความที่ รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนักวิชาการผู้วิจัยสบู่ดำ ผลักดันให้สบู่ดำเป็นพืชทางเลือกพืชหนึ่งสำหรับไบโอดีเซลและเป็นพืชพลังงานทดแทนชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ได้มอบให้มา เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นข้อคิดแก่เกษตรกรและผู้สนใจเกี่ยวกับการปลูกสบู่ดำก่อนลงทุนกับพืชชนิดนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ดร.สมบัติ ได้มองว่าการเร่งส่งเสริมการปลูกสบู่ดำในขณะนี้ยังเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะยังไม่มีความชัดเจนในด้านการตลาด และข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยยังไม่ครบวงจร รวมถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่อการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับพืชหลักเดิมที่ปลูกอยู่ " หากวู่วาม อาจตกเป็นเหยื่อของกลุ่มบุคคลที่ฉกฉวยโอกาสนี้ หลอกลวงเกษตรกร โดยจำหน่ายต้นพันธุ์ ที่บางครั้งอาจแอบอ้างว่าเป็นพันธุ์ดีที่ได้ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ในราคาที่สูง โดยมีข้อเสนอที่น่าสนใจคือ รับซื้อเมล็ดพันธุ์คืนในราคาเท่านั้นเท่านี้ โดยไม่บอกราคาหน้าโรงงานหรือหน้าสวน แต่มีข้อแม้ว่าเกษตรกรต้องซื้อต้นพันธุ์จากเขาและต้องปลูกไม่น้อยกว่า 10 ไร่ เป็นต้น " ดร.สมบัติ ให้ข้อมูลสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับการฉกฉวยประโยชน์ของผู้คนบางกลุ่ม ท่ามกลางกระแสแห่งความสนใจในพืชที่ชื่อ "สบู่ดำ" หากมองย้อนอดีต จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกระแสของสบู่ดำนั้น ก็เฉกเช่นเดียวกับความเจ็บปวดของเกษตรกรที่เคยมีมาแล้วกับพืชหลายชนิดในอดีต สิ่งที่ ดร.สมบัติ ย้ำเสมอในตอนนี้คือ ในทางวิชาการยังคงใช้เวลาในการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ที่มีอยู่อีกหลายเรื่องและครบวงจรก่อนแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างเป็นระบบต่อไป ทั้งนี้ โจทย์ที่ยังต้องการคำตอบให้กระจ่างนั้น ยังมีอยู่อีกมากมาย เอาแบบง่ายๆ ดร.สมบัติ ได้ยกตัวอย่างว่า... หนึ่ง ปลูกแล้วขายใคร? ขายราคาเท่าไร? ดร.สมบัติ ตั้งโจทย์ว่า จะคุ้มทุน เพราะสบู่ดำให้ผลผลิตเร็ว แค่ 4-5 เดือน หลังปลูก โรงงานสกัดน้ำมันมีหรือยัง? สอง พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นที่ใด? พื้นที่เขตชลประทานสามารถให้น้ำได้? หรือปลูกโดยอาศัยน้ำฝน? ที่ใดจะให้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่ากัน?
สาม การบริหารจัดการเขตกรรมอย่างไร? ที่เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตออกมาทั้งปี ปกติสบู่ดำนั้นเป็นพืชทนแล้งจริง แต่จะไม่ให้ผลผลิตในช่วงแล้ง และการเพิ่มผลผลิตควรมีการตัดแต่งกิ่งในช่วงที่เหมาะสมและสะดวกในการเก็บเกี่ยวโดยบังคับไม่ให้ต้นสูงเกินไป สี่ ระยะปลูกที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด? ทั้งนี้ ระยะปลูกชี้ถึงจำนวนต้นต่อไร่ ซึ่งจะส่งผลถึงผลผลิตต่อไร่ ซึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของระยะปลูกที่มีผลต่อผลผลิตและการจัดการด้านต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น 2x1 เมตร มี 800 ต้น ต่อไร่ ระยะปลูก 2x2 เมตร มี 400 ต้น ต่อไร่ และ 3x3 เมตร มี 177 ต้น ต่อไร่ เป็นต้น ห้า ผลผลิตสูงสุดเมื่ออายุเท่าใด? ทั้งนี้ ดร.สมบัติ บอกว่า สบู่ดำ เป็นพืชที่มีอายุยืน และให้ผลผลิตแบบต่อเนื่องตลอดปี แต่ยังไม่มีรายงานว่าสบู่ดำจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อมีอายุเท่าใด และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานเท่าใด "นั้นเป็นเพียงบางส่วนในเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีโจทย์ที่จะตามมาอีกมากมาย ประกอบกับโจทย์ที่สำคัญนี้ ผู้ตอบคือรัฐบาล คือรัฐบาลได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสบู่ดำไว้อย่างไรบ้าง เปรียบเทียบกับปาล์มน้ำมันได้ไหม มาตรฐานไบโอดีเซลจากสบู่ดำเป็นอย่างไร จะเป็น B5, B10 หรือ B100 มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตว่าอย่างไร มีการสนับสนุนการลงทุนมากน้อยเพียงใด" เหล่านี้เป็นเพียงคำถามจากไม่กี่คำถามที่ต้องตอบให้ได้ อันเป็นเจตนารมณ์ของ ดร.สมบัติ "จึงขอฝากว่า สบู่ดำ อนาคตดีแน่ แต่อย่าวู่วาม ช่วยกันหาคำตอบให้ได้มากที่สุดก่อนและค่อยๆส่งเสริมน่าจะดีกว่า" สบู่ดำ ที่แปลงวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ดร.สมบัติ ได้เล่าให้ฟังถึงพืชพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพอย่างสบู่ดำว่า เป็นพืชพื้นเมืองเก่าแก่ที่สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ในสมัยก่อนการปลูกสบู่ดำมีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวรั้วของสวนป้องกันสัตว์ที่จะเข้าไปแทะเล็มหรือรบกวนในสวน เป็นไม้ยืนต้น "พบว่า สามารถมีอายุยืนได้นานกว่า 50 ปี มีลักษณะเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ปลูกง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตค่อนข้างเร็ว ในภาคอีสานชาวบ้านจะรู้ว่าพืชนี้เป็นพืชน้ำมัน ในสมัยก่อนเคยมีการนำเมล็ดของสบู่ดำไปเสียบไม้สำหรับเป็นขี้ไต้ใช้จุดไฟได้" ขณะที่เรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติ การเป็นพืชน้ำมันของสบู่ดำนั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อประมาณ 25-26 ปีมาแล้ว โดยทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทำการวิจัยในเรื่องนี้ และถือว่าสบู่ดำเป็นพืชหนึ่งที่สามารถจะพัฒนาเป็นไบโอดีเซลหรือพลังานทดแทนจากพืชได้ แต่ทว่างานวิจัยในขณะนั้นกลับไม่ได้รับการสนับสนุนหรือให้ความสำคัญจากรัฐบาลสักเท่าใดนัก ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าราคาน้ำมันดีเซลในตอนนั้นยังถูกมาก เพียงลิตรละ 3-5 บาท จึงไม่สร้างแรงจูงใจให้คนหันมาสนใจงานวิจัยดังกล่าวเท่าที่ควร "จนกระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เรามองเห็นแล้วว่าน้ำมันจะแพง ดีเซลก็ต้องแพงแน่นอน เพราะฉะนั้นทุกคนก็หันกลับมาดูในเรื่องของไบโอดีเซลมาดูแก๊สโซฮอล์ มาดูพลังงานทดแทนจากพืช ซึ่งก็แยกเป็นแก๊สโซฮอล์ก็จะมองจากอ้อยและมันสำปะหลัง ขณะที่ไบโอดีเซลมีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาใช้ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น" "ในบรรดาพืชพื้นเมืองนอกจากปาล์มน้ำมันแล้ว ยังมีพืชอะไรอีกบ้างที่คิดว่ามีศักยภาพ ทุกคนจึงวิ่งกลับมาศึกษาในเรื่องของสบู่ดำกันอีกครั้ง ก็อย่างที่ว่าด้วยศักยภาพของตัวสบู่ดำเองและก็ดูแล้วว่าเป็นน้ำมันที่ทดแทนไบโอดีเซลได้ 100 % คือน้ำมันพอสกัดออกมาแล้วสามารถที่จะเอาไปใส่เครื่องดีเซลหมุนช้าได้ทันทีเลย" เครื่องดีเซลหมุนช้า อย่างเครื่องสูบน้ำ รถไถนา รถแทรคเตอร์และรถอีแต๋น นักวิจัยเลยเริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้น มีการศึกษามีการรวบรวมพันธุ์สบู่ดำจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจะดูถึงเรื่องของการให้ผลผลิต "ตอนนี้ในส่วนของผมทำการวิจัยมา 2 ปี มีจุดประสงค์ในการพัฒนาสบู่ดำให้เป็นพืชเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรม มุ่งไปที่เรื่องมองการศึกษาวิจัยเขตกรรมเป็นหลัก เพราะถ้าเราบอกว่าศักยภาพการให้ผลผลิตของพืชแต่ละชนิดนั้น น่าจะอยู่ที่การบริหารจัดการเป็นสำคัญ มีอะไรบ้างละ เช่น เรื่องของการปลูก ระยะปลูก การจัดการด้านศัตรูพืช การจัดการน้ำ การตัดแต่งกิ่ง เพราะพวกนี้คือการดูแลรักษาหลังจากปลูกสบู่ดำจึงจะให้ผลผลิต" ดร.สมบัติ ได้เริ่มต้นการทดลองปลูกในแปลง ขนาด 6.5 ไร่ ที่คณะเกษตร กำแพงแสน โดยปลูกสบู่ดำที่มีสายพันธุ์มาจากจังหวัดแพร่และโคราชเมื่อเดือนกันยายน 2546 ใช้ระยะปลูก 1x2 เมตร หรือประมาณไร่ละ 800 ต้น พร้อมการจัดการและการดูแลในทุกขั้นตอนเป็นอย่างดี ทั้งนี้ หลังจากปลูกสบู่ดำซึ่งมีการดูแลเป็นอย่างดีในช่วง 2 เดือนแรกผ่านไป ต้นสบู่ดำในแปลงทดลองเริ่มออกดอก และอีก 2 เดือน ต่อมาเริ่มติดผลและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ พบว่าผลผลิตที่ได้เมื่อนำไปกะเทาะเปลือกออกเพื่อเก็บเฉพาะเมล็ดสำหรับการหีบน้ำมัน จะได้เมล็ดสบู่ดำประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อต้น หรือคิดเป็นผลผลิตต่อไร่ก็ประมาณ 800 กิโลกรัม ต่อไร่ และเมื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการสกัดออกเป็นน้ำมันพบว่า จะต้องใช้เมล็ดสบู่ดำ 4 กิโลกรัม จึงจะได้น้ำมันไบโอดีเซลออกมา 1 ลิตร ดร.สมบัติ และทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อหาวิธีเพิ่มผลผลิต คือหลังจากการเก็บเกี่ยวสิ้นสุดขั้นตอนการเตรียมความพร้อมสำหรับต้นในการจะให้ผลผลิตครั้งต่อไป นั่นคือ ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่ง เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ พบว่า การตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัดตรงช่วงข้อที่สั้นที่สุดจะพบว่า การแตกกิ่งขึ้นมาใหม่จะยิ่งแตกได้ดีและแตกมาก หลังจากนั้นอีก 6 สัปดาห์ต่อมาก็พบว่าสบู่ดำเริ่มออกดอกอีกแล้ว 8 สัปดาห์ ก็มีการติดผล สรุปว่าการตัดแต่งกิ่ง 2 เดือน สามารถที่จะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้อีก ขั้นตอนต่อมา การศึกษาจึงมุ่งเน้นความสนใจไปที่การจัดการเรื่องน้ำควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง จากเดิมนั้น สบู่ดำ ที่เกิดตามธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งพบว่า ต้นสบู่ดำมักจะมีการทิ้งใบและหยุดให้ผลผลิต ซึ่งต้องรอจนกว่าจะมีฝนตกลงมาอีกครั้ง ต้นจึงจะมีการแตกใบและเริ่มที่จะให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียวต่อปี ขณะที่แนวทางการพัฒนาเพื่อจะให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้นั้น ต้องสามารถทำให้มีผลผลิตออกมาต่อเนื่องตลอดปี งานวิจัยจึงได้ทำแปลงทดลองเป็นสองลักษณะเพื่อจะเปรียบเทียบโดยแปลงหนึ่งมีระบบการจัดการน้ำเป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง ในขณะที่อีกแปลงจะรอจากฝนที่ตกลงมาอย่างเดียว พบว่า หากมีการจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง ต้นสบู่ดำสามารถให้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเยี่ยมชมแปลงทดลองพร้อมทั้งสอบถามเกี่ยวกับเรื่องของสบู่ดำได้ตลอดเวลา ที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้ในวันและเวลาราชการ เสนอ ต้องการตลาดนำการผลิต มุ่งใช้ในชุมชนก่อน ดร.สมบัติ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องของการตลาดสบู่ดำว่า รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายการตลาดนำการผลิต ขึ้นมาควบคุมเพื่อจะสร้างความแตกต่างไปจากพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่นที่แล้วมาที่ให้การส่งเสริมมาก่อนหน้านี้และพบว่ามักมีปัญหาด้านการตลาดตามมาภายหลัง กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องหาหรือกำหนดตลาดในการรองรับขึ้นมาให้เห็นชัดเจนก่อนแล้วค่อยมีการส่งเสริมเกษตรกรปลูกเพื่อสร้างผลผลิตป้อนให้กับตลาด "เป็นวิธีที่จะช่วยให้สบู่ดำกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ มิฉะนั้นแล้วรัฐให้การส่งเสริมภายใต้การดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรยังเป็นไปตามรูปแบบเดิมอยู่ ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอยอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะคิดพัฒนาอะไรขึ้นมาได้ แต่สุดท้ายก็ต้องพบกับจุดจบลงตามวังวนเดิม" เมื่อไหร่ก็ตามสบู่ดำได้รับการยอมรับให้เป็นพืชเศรษฐกิจโดยรัฐบาล การดำเนินนโยบายการตลาดนำการผลิตควรจะเริ่มต้นจากการมองตลาดในชุมชนเพื่อการรองรับไว้เป็นอันดับแรก อาจจะต้องเริ่มต้นที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่งก่อนเพื่อจะสร้างต้นแบบ จากนั้นก็เริ่มด้วยการเก็บข้อมูลในเรื่องของความต้องการใช้ปริมาณน้ำมันดีเซลต่อวัน ว่า คนในชุมชนมีความต้องการใช้กันวันละเท่าไร เสร็จแล้วรัฐบาลก็ถึงเริ่มเข้าไปในขั้นตอนของการสนับสนุนดูแลในลักษณะของการจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมัน ควบคู่ไปกับโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลให้ โดยทั้งสองภาคการผลิตจะมีน้ำมันจากเกษตรกรให้ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง ต่อจากนั้น จึงเริ่มสนับสนุนให้มีการปลูกเพื่อสร้างวัตถุดิบ เพราะถึงจะปลูกที่หลัง แต่ก็อย่าลืมว่า สบู่ดำโตไว ประกอบกับที่มีแนวทางในเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิตให้อยู่แล้ว จึงมั่นใจได้ว่าปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เกิดขึ้นแน่นอน โดยแนวทางที่เสนอแนะมานี้ สุดท้ายจะนำไปสู่การเกิดอุตสาหกรรมชุมชนขึ้น ซึ่งถ้าได้ทำต่อไปคนในชุมชน ใครอยากใช้น้ำมันก็ให้เอาเมล็ดวัตถุดิบที่ตัวเองปลูกขึ้นมาได้นำไปเข้าเครื่องสกัดน้ำมัน อยากได้กี่ลิตรก็ให้คำนวณว่า เมล็ด 4 กิโลกรัม ให้น้ำมัน 1 ลิตร จะต้องใช้ปริมาณวัตถุดิบเท่าไหร่ จึงจะได้รับปริมาณน้ำมันที่ตัวเองต้องการ ก็จะต้องเตรียมไปให้พอ หลังจากนั้น เครื่องก็จะสกัดน้ำมันออกมาให้ ขณะที่กากเหลือจากการสกัดน้ำมัน เช่น กากน้ำมันหรือผลของสบู่ดำตลอดจนต้นและใบ ก็สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นพลังงานชีวมวล เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เองภายในชุมชนได้ หรือผลิตปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป ถ้าผลผลิตโดยรวมที่ได้มีเหลือจากการใช้เองในชุมชนแล้ว ตรงนี้สามารถนำไปช่วยชดเชยในตลาดเมือง หรือตลาดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ ซึ่งช่วยชาติประหยัดได้อีกทางหนึ่ง "ทำแค่ผลิตให้พอสำหรับป้อนตลาดในประเทศ 2 ลักษณะดังกล่าวให้มีใช้อย่างเดียวเพียงพอไม่ให้ขาดแคลน หรือต้องไปพึ่งพาใคร แค่นี้ก็ยากและต้องใช้เวลาอีกนานถึงจะทำสำเร็จ ขณะที่ตลาดที่สาม ซึ่งหมายถึงการส่งออกนั้นสำหรับเราแล้วยังเป็นเรื่องที่อยู่ไกล เอาให้ได้แค่ 2 ตลาดนี้ก่อนก็สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนเกิดขึ้นได้แล้ว" "ทั้งหมดคือ เหตุผลว่า ทำไมยังไม่ปล่อยความรู้นี้ไปสู่การส่งเสริมให้เกษตรกร ในขณะนี้ทั้งในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ในเวลานี้ก็เพียงพอจะส่งเสริมได้แล้ว แต่จะบอกเพียงว่าส่งเสริมไปตอนนี้ยังอันตรายอยู่มาก เอาแค่เป็นแนวทางหรือเป็นพืชทางเลือกที่ยังไม่ใช่พืชนำเลยซะจะดีกว่า ตราบใดที่ความชัดเจนในเรื่องของตลาดตอนนี้ยังไม่มี" ดร.สมบัติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับสบู่ดำว่า ปัจจุบันการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนจากพืชในการเป็นทางเลือกท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแพงลิบลิ่ว และไม่มีท่าทีว่าจะต่ำลงได้นั้น มีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายๆ ประเทศที่เพิ่งเริ่มตื่นตัวและหันมาทำการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนาไบโอดีเซลจากพืชน้ำมันอย่างสบู่ดำ ตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องไบโอดีเซลจากสบู่ดำ จนถึงขั้นมีการพัฒนาอย่างจริงจังแล้วที่เห็นเด่นชัดคือ ประเทศอินเดีย แต่ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันของสบู่ดำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น "สำหรับประเทศไทย แม้ว่าความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เราไม่ได้ด้อยไปกว่าเขาแล้วก็ตาม แต่ก็คงต้องอดใจรอกันอีกนิดเพื่อให้รัฐบาลให้การยอมรับและบรรจุสบู่ดำเข้าไว้ในกลุ่มของพืชน้ำมันไบโอดีเซลให้อย่างถูกต้องเหมือนกับปาล์มน้ำมันเสียก่อน ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าในอนาคตเมื่อมีการเปรียบเทียบกันระหว่างพืชทั้งสองชนิดนี้แล้วและพบว่าตัวใดตัวหนึ่งให้ความคุ้มค่ามากกว่าก็อาจจะต้องเลือก หรือถ้าดีเหมือนกันก็อาจต้องทำการส่งเสริมควบคู่กันไป" ดร.สมบัติกล่าวในที่สุด
สบู่ดำ พืชพลังงานที่กำลังมาแรง อ่านข่าว สบู่ดำ จากเว็บไซต์ มีแต่คนอยากปลูกพืชชนิดนี้กันมาก ถามถึงขั้นตอนการปลูก การดูแล และพันธุ์ด้วย มิหนำซ้ำยังมีข่าวออกมาว่าเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์มีราคาซื้อขายที่แพงขึ้นมาก เมล็ดพันธุ์ราคาซื้อสูง 1,000 บาท ต่อกิโลกรัม และกิ่งพันธุ์กระโดดถึง 50 บาท ต่อกิ่ง หากเป็นจริงตามข่าว ราคาซื้อขายปรับตัวสูงแบบกระโดดเลยทีเดียว กล่าวคือ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กิ่งพันธุ์เพียง 4-5 บาท และเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 100 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้นเอง เป็นพืชเศรษฐกิจจริงๆ หรือเปล่า? ทำไม ราคาซื้อขายพันธุ์แพง? มีโรงงานรับซื้อผลผลิตหรือไม่? มีคำถามหลากหลายมาก แท้จริงๆ เรื่องสบู่ดำมีการศึกษาวิจัยกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ไม่ต่อเนื่อง เพราะว่าที่ผ่านมาปัญหาด้านพลังงานมีน้อย ปัจจุบันนี้ ราคาน้ำมันแพง นักวิชาการของภาครัฐจึงมีการหยิบงานวิจัยดังกล่าวมาปัดฝุ่นกันใหม่ และส่วนใหญ่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ฉะนั้น ทุกๆ คำถาม ยังตอบไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โปรดรอคอยไปสัก 2-3 ปี งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเวลานั้นทุกๆ คำถาม จะมีคำตอบที่ชัดเจนแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากต้องการความรู้หรือข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้ภาคเอกชนพร้อมแล้ว ซึ่งมีการจดทะเบียนเป็นบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจพืชสบู่ดำกว่า 10 ราย แล้ว บริษัท ราชาพลังธรรมชาติ จำกัด ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีความพร้อมด้านนี้ และกำลังจะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสบู่ดำ โดยประกันราคารับซื้อผลผลิตอีกด้วย "จริงๆ แล้ว เราแอบศึกษาเรื่องพืชสบู่มาหลายปีแล้ว เนื่องจากมองเห็นถึงปัญหาด้านพลังงานในอนาคต จึงได้ศึกษาแหล่งน้ำมันหรือพลังงานใหม่ขึ้นมา ปรากฏว่า สบู่ดำ สามารถสกัดเป็นน้ำมันดีเซลได้ดีที่สุด และเหมาะสมที่จะปลูกในเมืองไทยมาก เนื่องจากมีแสงแดดตลอดทั้งปี และดูแลดีๆ จะให้ผลผลิตค่อนข้างมาก " คุณชัชวาล ธรรมกรสุขศิริ ประธานบริษัท ราชาพลังธรรมชาติ จำกัด บริษัทดังกล่าวจะดำเนินงานอย่างครบวงจร กล่าวคือ มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก รับซื้อผลผลิต และก่อตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันด้วย ตอนนี้เราเปิดโอกาสให้ชาวบ้านหรือผู้สนใจสมัครลงทะเบียนกับบริษัทไว้ จากนั้นก็อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก การดูแล และเก็บเกี่ยวพืชชนิดนี้ ผมอยากขอเตือนชาวบ้านที่คิดจะปลูกสบู่ดำ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มันต้องดูแลให้น้ำและปุ๋ย จึงจะให้ผลตอบแทนดี ปลูกทิ้งๆ ขวางๆ ขาดทุนแน่นอน"คุณชัชวาล กล่าว ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกสบู่ดำกับ บริษัท ราชาฯ จะไม่มีปัญหาเรื่องตลาดและราคารับซื้อ เนื่องจากมีการประกันสินค้าหรือผลผลิตขั้นต่ำในกิโลกรัมละ 3 บาท "นี่เป็นราคาประกันขั้นต่ำ ซึ่งอาจถึง 4-5 บาท ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพการตลาด และต้นทุนการผลิตน้ำมันด้วย" ไม่เกินเดือนเมษายน ปี 2549 นี้ ทาง บริษัท ราชาฯ จะก่อตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันจากสบู่ดำ 1 แห่ง ในประเทศ โดยมีกำลังผลิตสูงถึง 500,000 ลิตร ต่อวัน ดังนั้น ต้องมีวัตถุดิบหรือเมล็ดสบู่ดำป้อนโรงงานถึง 2,000 ตัน ต่อวัน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นที่ปลูกประมาณ 500,000 ไร่ ถึงจะเพียงพอกับวัตถุดิบดังกล่าว "ตอนนี้มีต้นแบบของโรงงานกลั่นน้ำมันดีที่สุดในโลก สามารถผลิตเป็น บี 100 หรือน้ำมันดีเซลบริสุทธิ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการลอกเลียนแบบ จึงอยากฝากบอกรัฐบาลว่า ทางภาคเอกชนพร้อมทุกอย่างแล้ว ขอให้ช่วยกันส่งเสริมเถอะ เพื่อให้ชาวบ้านมีงานและเงินใช้ และที่สำคัญสามารถแก้ปัญหาวิกฤติของชาติได้เป็นอย่างดีด้วย"คุณชัชวาล กล่าว เขาบอกว่า ตอนนี้ประเทศไทยสั่งน้ำมันดีเซลเข้ามา 60 ล้านลิตร ต่อวัน แต่ถ้าเราส่งเสริมให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรปลูกสบู่ดำ 40 ล้านไร่ ก็สามารถมีวัตถุดิบหรือผลผลิตพืชชนิดนี้เพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือนำเข้าน้ำมันดีเซลเลย "บริษัทของเรามีเป้าหมายตั้งโรงงานต้นแบบในประเทศ 1 แห่ง เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังเสาะหาพื้นที่เหมาะสมอยู่ โดยเล็งแถวๆ ภาคเหนือหรืออีสาน ซึ่งเราต้องการทำให้รัฐบาลดูว่าการแก้วิกฤติน้ำมันของชาติมันมีทางออก" "ปลูกปีนี้ 20,000 ไร่ ปีหน้าสามารถก้าวกระโดด 40 ล้านไร่ ได้เลย เพราะว่าพืชตัวนี้ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้เร็ว สมมุติว่าปลูกปีนี้ 1 ต้น ได้ผลผลิตเมล็ดไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 2,000 เมล็ด แล้วนำไปเพาะปลูกใหม่ จากนั้นนำเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์อีก 40 ล้านไร่ ใช้เวลาเพียง 1-2 ปี เท่านั้น ถ้าทำกันจริงๆ ก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีนโยบายอย่างไร" คุณชัชวาล กล่าว สำหรับประเด็นเรื่องสายพันธุ์ที่มีการถกเถียงกันนั้น คุณชัชวาล บอกว่า "จากการศึกษาของเราพบว่า ต้นพันธุ์หรือสายพันธุ์ไม่ใช่เป็นตัวบ่งชี้ผลผลิตมากหรือน้อย ผมคิดว่าปัจจัยที่สำคัญนั้นมาจากการดูแลให้น้ำ-ปุ๋ย และขั้นตอนการปลูกหรือจัดการมากกว่า" "หากอีก 2-3 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ได้ ก็ยังไม่สาย เพราะว่าตอนนี้ต้นทุนการปลูกสบู่ดำไม่สูง เพียง 2,000 บาท ต่อไร่ ต่อ 1 ปีแรก และปีถัดๆ ไปจะต่ำลงมาก เนื่องจากไม่ต้องเตรียมพื้นที่และซื้อต้นพันธุ์ ถ้าอีก 3 ปี มีพันธุ์ใหม่เข้ามา ก็สามารถปลูกแซมระหว่างต้นได้เลย เมื่อต้นพันธุ์ดีเจริญเติบโตขึ้น ก็ทยอยตัดหรือทำลายต้นพันธุ์เก่าทิ้งไป" คุณชัชวาล กล่าว ปัจจุบันนี้ บริษัท ราชาฯ จำหน่ายต้นพันธุ์ให้กับสมาชิกที่สมัครขึ้นทะเบียนแล้ว เพียง 5 บาท ต่อต้นเท่านั้น "เราค้นพบเทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดี ซึ่งมี 3 อย่าง ดังนี้ คือ 1. พืชตัวนี้ต้องการแสงแดดสูง จำเป็นต้องปลูกให้ระยะห่างมาก หรือ 180 ต้น ต่อไร่ และต้องปลูกตามแนวของตะวันออกและตะวันตก เพื่อให้ได้แสงตลอดทั้งวัน เพราะว่าจากการการทดลองพบว่า ต้นที่โดนแสงแดดตลอดทั้งวัน จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าต้นที่โดนแสงน้อย 2. ต้องเลี้ยงผึ้ง เพื่อช่วยผสมเกสร ซึ่งประเทศอินเดียทดลองแล้ว และประสบความสำเร็จค่อนข้างดี 3. ควรใส่ฟอสฟอรัสที่ลำต้นด้วย เนื่องจากเราไปพบต้นสบู่ดำที่ขึ้นอยู่ตามจอมปลวก และพบว่ามันเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีมาก ซึ่งเข้าใจว่าในจอมปลวกมีฟอสฟอรัสสูง ส่วนเรื่องสายพันธุ์นั้นผมว่า ช่วงนี้ยังไม่สำคัญเท่าที่ควร ถ้าเรายังรอช้าอยู่ปัญหาขาดแคลนพลังงานจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ" คุณชัชวาล กล่าว พร้อมกับบอกย้ำว่า ประเทศไทยได้เปรียบในการปลูกพืชตัวนี้มาก เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีแสงแดดตลอดทั้งปี และมีที่ดินว่างจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคอีสาน น่าจะมีการส่งเสริมปลูกสักจังหวัดละ 2 ล้านไร่ จีน ยุโรป ไม่สามารถปลูกพืชตัวนี้ได้ เพราะว่าไม่ค่อยมีแสงแดด และอากาศหนาวด้วย ส่วนอินเดียนั้นสภาพภูมิอากาศเหมาะสม แต่มีปัญหามีพลเมืองมาก ทำให้ไม่ค่อยมีพื้นที่ว่าง เพื่อปลูกสบู่ดำ "ประเทศไทยมีศักยภาพปลูกสบู่ดำเป็นพืชเศรษฐกิจมากที่สุด" คุณชัชวาล กล่าวทิ้งท้าย หนึงชุมชนหนึ่งโรงไฟฟ้า คือ สบู่ดำ บีบน้ำมันได้ แล้วยังทำเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย
ข้อคิดเตือนใจจาก ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ แห่ง มก.กำแพงแสน สบู่ดำ พืชพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ อนาคตดีแน่ แต่อย่าวู่วาม...เป็นชื่อของบทความที่ รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนักวิชาการผู้วิจัยสบู่ดำ ผลักดันให้สบู่ดำเป็นพืชทางเลือกพืชหนึ่งสำหรับไบโอดีเซลและเป็นพืชพลังงานทดแทนชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ได้มอบให้มา เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นข้อคิดแก่เกษตรกรและผู้สนใจเกี่ยวกับการปลูกสบู่ดำก่อนลงทุนกับพืชชนิดนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ ดร.สมบัติ ได้มองว่าการเร่งส่งเสริมการปลูกสบู่ดำในขณะนี้ยังเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะยังไม่มีความชัดเจนในด้านการตลาด และข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยยังไม่ครบวงจร รวมถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่อการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับพืชหลักเดิมที่ปลูกอยู่ " หากวู่วาม อาจตกเป็นเหยื่อของกลุ่มบุคคลที่ฉกฉวยโอกาสนี้ หลอกลวงเกษตรกร โดยจำหน่ายต้นพันธุ์ ที่บางครั้งอาจแอบอ้างว่าเป็นพันธุ์ดีที่ได้ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ในราคาที่สูง โดยมีข้อเสนอที่น่าสนใจคือ รับซื้อเมล็ดพันธุ์คืนในราคาเท่านั้นเท่านี้ โดยไม่บอกราคาหน้าโรงงานหรือหน้าสวน แต่มีข้อแม้ว่าเกษตรกรต้องซื้อต้นพันธุ์จากเขาและต้องปลูกไม่น้อยกว่า 10 ไร่ เป็นต้น " ดร.สมบัติ ให้ข้อมูลสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับการฉกฉวยประโยชน์ของผู้คนบางกลุ่ม ท่ามกลางกระแสแห่งความสนใจในพืชที่ชื่อ "สบู่ดำ" หากมองย้อนอดีต จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกระแสของสบู่ดำนั้น ก็เฉกเช่นเดียวกับความเจ็บปวดของเกษตรกรที่เคยมีมาแล้วกับพืชหลายชนิดในอดีต สิ่งที่ ดร.สมบัติ ย้ำเสมอในตอนนี้คือ ในทางวิชาการยังคงใช้เวลาในการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ที่มีอยู่อีกหลายเรื่องและครบวงจรก่อนแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างเป็นระบบต่อไป ทั้งนี้ โจทย์ที่ยังต้องการคำตอบให้กระจ่างนั้น ยังมีอยู่อีกมากมาย เอาแบบง่ายๆ ดร.สมบัติ ได้ยกตัวอย่างว่า... หนึ่ง ปลูกแล้วขายใคร? ขายราคาเท่าไร? ดร.สมบัติ ตั้งโจทย์ว่า จะคุ้มทุน เพราะสบู่ดำให้ผลผลิตเร็ว แค่ 4-5 เดือน หลังปลูก โรงงานสกัดน้ำมันมีหรือยัง? สอง พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นที่ใด? พื้นที่เขตชลประทานสามารถให้น้ำได้? หรือปลูกโดยอาศัยน้ำฝน? ที่ใดจะให้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่ากัน?
สาม การบริหารจัดการเขตกรรมอย่างไร? ที่เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตออกมาทั้งปี ปกติสบู่ดำนั้นเป็นพืชทนแล้งจริง แต่จะไม่ให้ผลผลิตในช่วงแล้ง และการเพิ่มผลผลิตควรมีการตัดแต่งกิ่งในช่วงที่เหมาะสมและสะดวกในการเก็บเกี่ยวโดยบังคับไม่ให้ต้นสูงเกินไป สี่ ระยะปลูกที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด? ทั้งนี้ ระยะปลูกชี้ถึงจำนวนต้นต่อไร่ ซึ่งจะส่งผลถึงผลผลิตต่อไร่ ซึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของระยะปลูกที่มีผลต่อผลผลิตและการจัดการด้านต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น 2x1 เมตร มี 800 ต้น ต่อไร่ ระยะปลูก 2x2 เมตร มี 400 ต้น ต่อไร่ และ 3x3 เมตร มี 177 ต้น ต่อไร่ เป็นต้น ห้า ผลผลิตสูงสุดเมื่ออายุเท่าใด? ทั้งนี้ ดร.สมบัติ บอกว่า สบู่ดำ เป็นพืชที่มีอายุยืน และให้ผลผลิตแบบต่อเนื่องตลอดปี แต่ยังไม่มีรายงานว่าสบู่ดำจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อมีอายุเท่าใด และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานเท่าใด "นั้นเป็นเพียงบางส่วนในเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีโจทย์ที่จะตามมาอีกมากมาย ประกอบกับโจทย์ที่สำคัญนี้ ผู้ตอบคือรัฐบาล คือรัฐบาลได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสบู่ดำไว้อย่างไรบ้าง เปรียบเทียบกับปาล์มน้ำมันได้ไหม มาตรฐานไบโอดีเซลจากสบู่ดำเป็นอย่างไร จะเป็น B5, B10 หรือ B100 มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตว่าอย่างไร มีการสนับสนุนการลงทุนมากน้อยเพียงใด" เหล่านี้เป็นเพียงคำถามจากไม่กี่คำถามที่ต้องตอบให้ได้ อันเป็นเจตนารมณ์ของ ดร.สมบัติ "จึงขอฝากว่า สบู่ดำ อนาคตดีแน่ แต่อย่าวู่วาม ช่วยกันหาคำตอบให้ได้มากที่สุดก่อนและค่อยๆส่งเสริมน่าจะดีกว่า" สบู่ดำ ที่แปลงวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ดร.สมบัติ ได้เล่าให้ฟังถึงพืชพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพอย่างสบู่ดำว่า เป็นพืชพื้นเมืองเก่าแก่ที่สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ในสมัยก่อนการปลูกสบู่ดำมีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวรั้วของสวนป้องกันสัตว์ที่จะเข้าไปแทะเล็มหรือรบกวนในสวน เป็นไม้ยืนต้น "พบว่า สามารถมีอายุยืนได้นานกว่า 50 ปี มีลักษณะเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ปลูกง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตค่อนข้างเร็ว ในภาคอีสานชาวบ้านจะรู้ว่าพืชนี้เป็นพืชน้ำมัน ในสมัยก่อนเคยมีการนำเมล็ดของสบู่ดำไปเสียบไม้สำหรับเป็นขี้ไต้ใช้จุดไฟได้" ขณะที่เรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติ การเป็นพืชน้ำมันของสบู่ดำนั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อประมาณ 25-26 ปีมาแล้ว โดยทีมอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทำการวิจัยในเรื่องนี้ และถือว่าสบู่ดำเป็นพืชหนึ่งที่สามารถจะพัฒนาเป็นไบโอดีเซลหรือพลังานทดแทนจากพืชได้ แต่ทว่างานวิจัยในขณะนั้นกลับไม่ได้รับการสนับสนุนหรือให้ความสำคัญจากรัฐบาลสักเท่าใดนัก ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าราคาน้ำมันดีเซลในตอนนั้นยังถูกมาก เพียงลิตรละ 3-5 บาท จึงไม่สร้างแรงจูงใจให้คนหันมาสนใจงานวิจัยดังกล่าวเท่าที่ควร "จนกระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เรามองเห็นแล้วว่าน้ำมันจะแพง ดีเซลก็ต้องแพงแน่นอน เพราะฉะนั้นทุกคนก็หันกลับมาดูในเรื่องของไบโอดีเซลมาดูแก๊สโซฮอล์ มาดูพลังงานทดแทนจากพืช ซึ่งก็แยกเป็นแก๊สโซฮอล์ก็จะมองจากอ้อยและมันสำปะหลัง ขณะที่ไบโอดีเซลมีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาใช้ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น" "ในบรรดาพืชพื้นเมืองนอกจากปาล์มน้ำมันแล้ว ยังมีพืชอะไรอีกบ้างที่คิดว่ามีศักยภาพ ทุกคนจึงวิ่งกลับมาศึกษาในเรื่องของสบู่ดำกันอีกครั้ง ก็อย่างที่ว่าด้วยศักยภาพของตัวสบู่ดำเองและก็ดูแล้วว่าเป็นน้ำมันที่ทดแทนไบโอดีเซลได้ 100 % คือน้ำมันพอสกัดออกมาแล้วสามารถที่จะเอาไปใส่เครื่องดีเซลหมุนช้าได้ทันทีเลย" เครื่องดีเซลหมุนช้า อย่างเครื่องสูบน้ำ รถไถนา รถแทรคเตอร์และรถอีแต๋น นักวิจัยเลยเริ่มหันมาสนใจกันมากขึ้น มีการศึกษามีการรวบรวมพันธุ์สบู่ดำจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจะดูถึงเรื่องของการให้ผลผลิต "ตอนนี้ในส่วนของผมทำการวิจัยมา 2 ปี มีจุดประสงค์ในการพัฒนาสบู่ดำให้เป็นพืชเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรม มุ่งไปที่เรื่องมองการศึกษาวิจัยเขตกรรมเป็นหลัก เพราะถ้าเราบอกว่าศักยภาพการให้ผลผลิตของพืชแต่ละชนิดนั้น น่าจะอยู่ที่การบริหารจัดการเป็นสำคัญ มีอะไรบ้างละ เช่น เรื่องของการปลูก ระยะปลูก การจัดการด้านศัตรูพืช การจัดการน้ำ การตัดแต่งกิ่ง เพราะพวกนี้คือการดูแลรักษาหลังจากปลูกสบู่ดำจึงจะให้ผลผลิต" ดร.สมบัติ ได้เริ่มต้นการทดลองปลูกในแปลง ขนาด 6.5 ไร่ ที่คณะเกษตร กำแพงแสน โดยปลูกสบู่ดำที่มีสายพันธุ์มาจากจังหวัดแพร่และโคราชเมื่อเดือนกันยายน 2546 ใช้ระยะปลูก 1x2 เมตร หรือประมาณไร่ละ 800 ต้น พร้อมการจัดการและการดูแลในทุกขั้นตอนเป็นอย่างดี ทั้งนี้ หลังจากปลูกสบู่ดำซึ่งมีการดูแลเป็นอย่างดีในช่วง 2 เดือนแรกผ่านไป ต้นสบู่ดำในแปลงทดลองเริ่มออกดอก และอีก 2 เดือน ต่อมาเริ่มติดผลและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ พบว่าผลผลิตที่ได้เมื่อนำไปกะเทาะเปลือกออกเพื่อเก็บเฉพาะเมล็ดสำหรับการหีบน้ำมัน จะได้เมล็ดสบู่ดำประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อต้น หรือคิดเป็นผลผลิตต่อไร่ก็ประมาณ 800 กิโลกรัม ต่อไร่ และเมื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการสกัดออกเป็นน้ำมันพบว่า จะต้องใช้เมล็ดสบู่ดำ 4 กิโลกรัม จึงจะได้น้ำมันไบโอดีเซลออกมา 1 ลิตร ดร.สมบัติ และทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาเพื่อหาวิธีเพิ่มผลผลิต คือหลังจากการเก็บเกี่ยวสิ้นสุดขั้นตอนการเตรียมความพร้อมสำหรับต้นในการจะให้ผลผลิตครั้งต่อไป นั่นคือ ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่ง เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ พบว่า การตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัดตรงช่วงข้อที่สั้นที่สุดจะพบว่า การแตกกิ่งขึ้นมาใหม่จะยิ่งแตกได้ดีและแตกมาก หลังจากนั้นอีก 6 สัปดาห์ต่อมาก็พบว่าสบู่ดำเริ่มออกดอกอีกแล้ว 8 สัปดาห์ ก็มีการติดผล สรุปว่าการตัดแต่งกิ่ง 2 เดือน สามารถที่จะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้อีก ขั้นตอนต่อมา การศึกษาจึงมุ่งเน้นความสนใจไปที่การจัดการเรื่องน้ำควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง จากเดิมนั้น สบู่ดำ ที่เกิดตามธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งพบว่า ต้นสบู่ดำมักจะมีการทิ้งใบและหยุดให้ผลผลิต ซึ่งต้องรอจนกว่าจะมีฝนตกลงมาอีกครั้ง ต้นจึงจะมีการแตกใบและเริ่มที่จะให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียวต่อปี ขณะที่แนวทางการพัฒนาเพื่อจะให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้นั้น ต้องสามารถทำให้มีผลผลิตออกมาต่อเนื่องตลอดปี งานวิจัยจึงได้ทำแปลงทดลองเป็นสองลักษณะเพื่อจะเปรียบเทียบโดยแปลงหนึ่งมีระบบการจัดการน้ำเป็นอย่างดีควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง ในขณะที่อีกแปลงจะรอจากฝนที่ตกลงมาอย่างเดียว พบว่า หากมีการจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบควบคู่ไปกับการตัดแต่งกิ่ง ต้นสบู่ดำสามารถให้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อขอเยี่ยมชมแปลงทดลองพร้อมทั้งสอบถามเกี่ยวกับเรื่องของสบู่ดำได้ตลอดเวลา ที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้ในวันและเวลาราชการ เสนอ ต้องการตลาดนำการผลิต มุ่งใช้ในชุมชนก่อน ดร.สมบัติ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องของการตลาดสบู่ดำว่า รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายการตลาดนำการผลิต ขึ้นมาควบคุมเพื่อจะสร้างความแตกต่างไปจากพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่นที่แล้วมาที่ให้การส่งเสริมมาก่อนหน้านี้และพบว่ามักมีปัญหาด้านการตลาดตามมาภายหลัง กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องหาหรือกำหนดตลาดในการรองรับขึ้นมาให้เห็นชัดเจนก่อนแล้วค่อยมีการส่งเสริมเกษตรกรปลูกเพื่อสร้างผลผลิตป้อนให้กับตลาด "เป็นวิธีที่จะช่วยให้สบู่ดำกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ มิฉะนั้นแล้วรัฐให้การส่งเสริมภายใต้การดำเนินนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรยังเป็นไปตามรูปแบบเดิมอยู่ ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอยอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะคิดพัฒนาอะไรขึ้นมาได้ แต่สุดท้ายก็ต้องพบกับจุดจบลงตามวังวนเดิม" เมื่อไหร่ก็ตามสบู่ดำได้รับการยอมรับให้เป็นพืชเศรษฐกิจโดยรัฐบาล การดำเนินนโยบายการตลาดนำการผลิตควรจะเริ่มต้นจากการมองตลาดในชุมชนเพื่อการรองรับไว้เป็นอันดับแรก อาจจะต้องเริ่มต้นที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่งก่อนเพื่อจะสร้างต้นแบบ จากนั้นก็เริ่มด้วยการเก็บข้อมูลในเรื่องของความต้องการใช้ปริมาณน้ำมันดีเซลต่อวัน ว่า คนในชุมชนมีความต้องการใช้กันวันละเท่าไร เสร็จแล้วรัฐบาลก็ถึงเริ่มเข้าไปในขั้นตอนของการสนับสนุนดูแลในลักษณะของการจัดตั้งโรงงานสกัดน้ำมัน ควบคู่ไปกับโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลให้ โดยทั้งสองภาคการผลิตจะมีน้ำมันจากเกษตรกรให้ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง ต่อจากนั้น จึงเริ่มสนับสนุนให้มีการปลูกเพื่อสร้างวัตถุดิบ เพราะถึงจะปลูกที่หลัง แต่ก็อย่าลืมว่า สบู่ดำโตไว ประกอบกับที่มีแนวทางในเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิตให้อยู่แล้ว จึงมั่นใจได้ว่าปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เกิดขึ้นแน่นอน โดยแนวทางที่เสนอแนะมานี้ สุดท้ายจะนำไปสู่การเกิดอุตสาหกรรมชุมชนขึ้น ซึ่งถ้าได้ทำต่อไปคนในชุมชน ใครอยากใช้น้ำมันก็ให้เอาเมล็ดวัตถุดิบที่ตัวเองปลูกขึ้นมาได้นำไปเข้าเครื่องสกัดน้ำมัน อยากได้กี่ลิตรก็ให้คำนวณว่า เมล็ด 4 กิโลกรัม ให้น้ำมัน 1 ลิตร จะต้องใช้ปริมาณวัตถุดิบเท่าไหร่ จึงจะได้รับปริมาณน้ำมันที่ตัวเองต้องการ ก็จะต้องเตรียมไปให้พอ หลังจากนั้น เครื่องก็จะสกัดน้ำมันออกมาให้ ขณะที่กากเหลือจากการสกัดน้ำมัน เช่น กากน้ำมันหรือผลของสบู่ดำตลอดจนต้นและใบ ก็สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นพลังงานชีวมวล เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เองภายในชุมชนได้ หรือผลิตปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป ถ้าผลผลิตโดยรวมที่ได้มีเหลือจากการใช้เองในชุมชนแล้ว ตรงนี้สามารถนำไปช่วยชดเชยในตลาดเมือง หรือตลาดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ ซึ่งช่วยชาติประหยัดได้อีกทางหนึ่ง "ทำแค่ผลิตให้พอสำหรับป้อนตลาดในประเทศ 2 ลักษณะดังกล่าวให้มีใช้อย่างเดียวเพียงพอไม่ให้ขาดแคลน หรือต้องไปพึ่งพาใคร แค่นี้ก็ยากและต้องใช้เวลาอีกนานถึงจะทำสำเร็จ ขณะที่ตลาดที่สาม ซึ่งหมายถึงการส่งออกนั้นสำหรับเราแล้วยังเป็นเรื่องที่อยู่ไกล เอาให้ได้แค่ 2 ตลาดนี้ก่อนก็สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนเกิดขึ้นได้แล้ว" "ทั้งหมดคือ เหตุผลว่า ทำไมยังไม่ปล่อยความรู้นี้ไปสู่การส่งเสริมให้เกษตรกร ในขณะนี้ทั้งในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ในเวลานี้ก็เพียงพอจะส่งเสริมได้แล้ว แต่จะบอกเพียงว่าส่งเสริมไปตอนนี้ยังอันตรายอยู่มาก เอาแค่เป็นแนวทางหรือเป็นพืชทางเลือกที่ยังไม่ใช่พืชนำเลยซะจะดีกว่า ตราบใดที่ความชัดเจนในเรื่องของตลาดตอนนี้ยังไม่มี" ดร.สมบัติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับสบู่ดำว่า ปัจจุบันการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนจากพืชในการเป็นทางเลือกท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแพงลิบลิ่ว และไม่มีท่าทีว่าจะต่ำลงได้นั้น มีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายๆ ประเทศที่เพิ่งเริ่มตื่นตัวและหันมาทำการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในแง่ของการพัฒนาไบโอดีเซลจากพืชน้ำมันอย่างสบู่ดำ ตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องไบโอดีเซลจากสบู่ดำ จนถึงขั้นมีการพัฒนาอย่างจริงจังแล้วที่เห็นเด่นชัดคือ ประเทศอินเดีย แต่ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์จากน้ำมันของสบู่ดำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น "สำหรับประเทศไทย แม้ว่าความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ เราไม่ได้ด้อยไปกว่าเขาแล้วก็ตาม แต่ก็คงต้องอดใจรอกันอีกนิดเพื่อให้รัฐบาลให้การยอมรับและบรรจุสบู่ดำเข้าไว้ในกลุ่มของพืชน้ำมันไบโอดีเซลให้อย่างถูกต้องเหมือนกับปาล์มน้ำมันเสียก่อน ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าในอนาคตเมื่อมีการเปรียบเทียบกันระหว่างพืชทั้งสองชนิดนี้แล้วและพบว่าตัวใดตัวหนึ่งให้ความคุ้มค่ามากกว่าก็อาจจะต้องเลือก หรือถ้าดีเหมือนกันก็อาจต้องทำการส่งเสริมควบคู่กันไป" ดร.สมบัติกล่าวในที่สุด
สบู่ดำ พืชพลังงานที่กำลังมาแรง อ่านข่าว สบู่ดำ จากเว็บไซต์ มีแต่คนอยากปลูกพืชชนิดนี้กันมาก ถามถึงขั้นตอนการปลูก การดูแล และพันธุ์ด้วย มิหนำซ้ำยังมีข่าวออกมาว่าเมล็ดพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์มีราคาซื้อขายที่แพงขึ้นมาก เมล็ดพันธุ์ราคาซื้อสูง 1,000 บาท ต่อกิโลกรัม และกิ่งพันธุ์กระโดดถึง 50 บาท ต่อกิ่ง หากเป็นจริงตามข่าว ราคาซื้อขายปรับตัวสูงแบบกระโดดเลยทีเดียว กล่าวคือ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กิ่งพันธุ์เพียง 4-5 บาท และเมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 100 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้นเอง เป็นพืชเศรษฐกิจจริงๆ หรือเปล่า? ทำไม ราคาซื้อขายพันธุ์แพง? มีโรงงานรับซื้อผลผลิตหรือไม่? มีคำถามหลากหลายมาก แท้จริงๆ เรื่องสบู่ดำมีการศึกษาวิจัยกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ไม่ต่อเนื่อง เพราะว่าที่ผ่านมาปัญหาด้านพลังงานมีน้อย ปัจจุบันนี้ ราคาน้ำมันแพง นักวิชาการของภาครัฐจึงมีการหยิบงานวิจัยดังกล่าวมาปัดฝุ่นกันใหม่ และส่วนใหญ่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ฉะนั้น ทุกๆ คำถาม ยังตอบไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โปรดรอคอยไปสัก 2-3 ปี งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเวลานั้นทุกๆ คำถาม จะมีคำตอบที่ชัดเจนแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากต้องการความรู้หรือข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้ภาคเอกชนพร้อมแล้ว ซึ่งมีการจดทะเบียนเป็นบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจพืชสบู่ดำกว่า 10 ราย แล้ว บริษัท ราชาพลังธรรมชาติ จำกัด ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีความพร้อมด้านนี้ และกำลังจะส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสบู่ดำ โดยประกันราคารับซื้อผลผลิตอีกด้วย "จริงๆ แล้ว เราแอบศึกษาเรื่องพืชสบู่มาหลายปีแล้ว เนื่องจากมองเห็นถึงปัญหาด้านพลังงานในอนาคต จึงได้ศึกษาแหล่งน้ำมันหรือพลังงานใหม่ขึ้นมา ปรากฏว่า สบู่ดำ สามารถสกัดเป็นน้ำมันดีเซลได้ดีที่สุด และเหมาะสมที่จะปลูกในเมืองไทยมาก เนื่องจากมีแสงแดดตลอดทั้งปี และดูแลดีๆ จะให้ผลผลิตค่อนข้างมาก " คุณชัชวาล ธรรมกรสุขศิริ ประธานบริษัท ราชาพลังธรรมชาติ จำกัด บริษัทดังกล่าวจะดำเนินงานอย่างครบวงจร กล่าวคือ มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก รับซื้อผลผลิต และก่อตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันด้วย ตอนนี้เราเปิดโอกาสให้ชาวบ้านหรือผู้สนใจสมัครลงทะเบียนกับบริษัทไว้ จากนั้นก็อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก การดูแล และเก็บเกี่ยวพืชชนิดนี้ ผมอยากขอเตือนชาวบ้านที่คิดจะปลูกสบู่ดำ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มันต้องดูแลให้น้ำและปุ๋ย จึงจะให้ผลตอบแทนดี ปลูกทิ้งๆ ขวางๆ ขาดทุนแน่นอน"คุณชัชวาล กล่าว ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกสบู่ดำกับ บริษัท ราชาฯ จะไม่มีปัญหาเรื่องตลาดและราคารับซื้อ เนื่องจากมีการประกันสินค้าหรือผลผลิตขั้นต่ำในกิโลกรัมละ 3 บาท "นี่เป็นราคาประกันขั้นต่ำ ซึ่งอาจถึง 4-5 บาท ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพการตลาด และต้นทุนการผลิตน้ำมันด้วย" ไม่เกินเดือนเมษายน ปี 2549 นี้ ทาง บริษัท ราชาฯ จะก่อตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันจากสบู่ดำ 1 แห่ง ในประเทศ โดยมีกำลังผลิตสูงถึง 500,000 ลิตร ต่อวัน ดังนั้น ต้องมีวัตถุดิบหรือเมล็ดสบู่ดำป้อนโรงงานถึง 2,000 ตัน ต่อวัน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นที่ปลูกประมาณ 500,000 ไร่ ถึงจะเพียงพอกับวัตถุดิบดังกล่าว "ตอนนี้มีต้นแบบของโรงงานกลั่นน้ำมันดีที่สุดในโลก สามารถผลิตเป็น บี 100 หรือน้ำมันดีเซลบริสุทธิ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการลอกเลียนแบบ จึงอยากฝากบอกรัฐบาลว่า ทางภาคเอกชนพร้อมทุกอย่างแล้ว ขอให้ช่วยกันส่งเสริมเถอะ เพื่อให้ชาวบ้านมีงานและเงินใช้ และที่สำคัญสามารถแก้ปัญหาวิกฤติของชาติได้เป็นอย่างดีด้วย"คุณชัชวาล กล่าว เขาบอกว่า ตอนนี้ประเทศไทยสั่งน้ำมันดีเซลเข้ามา 60 ล้านลิตร ต่อวัน แต่ถ้าเราส่งเสริมให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรปลูกสบู่ดำ 40 ล้านไร่ ก็สามารถมีวัตถุดิบหรือผลผลิตพืชชนิดนี้เพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือนำเข้าน้ำมันดีเซลเลย "บริษัทของเรามีเป้าหมายตั้งโรงงานต้นแบบในประเทศ 1 แห่ง เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังเสาะหาพื้นที่เหมาะสมอยู่ โดยเล็งแถวๆ ภาคเหนือหรืออีสาน ซึ่งเราต้องการทำให้รัฐบาลดูว่าการแก้วิกฤติน้ำมันของชาติมันมีทางออก" "ปลูกปีนี้ 20,000 ไร่ ปีหน้าสามารถก้าวกระโดด 40 ล้านไร่ ได้เลย เพราะว่าพืชตัวนี้ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้เร็ว สมมุติว่าปลูกปีนี้ 1 ต้น ได้ผลผลิตเมล็ดไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 2,000 เมล็ด แล้วนำไปเพาะปลูกใหม่ จากนั้นนำเมล็ดมาเพาะขยายพันธุ์อีก 40 ล้านไร่ ใช้เวลาเพียง 1-2 ปี เท่านั้น ถ้าทำกันจริงๆ ก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีนโยบายอย่างไร" คุณชัชวาล กล่าว สำหรับประเด็นเรื่องสายพันธุ์ที่มีการถกเถียงกันนั้น คุณชัชวาล บอกว่า "จากการศึกษาของเราพบว่า ต้นพันธุ์หรือสายพันธุ์ไม่ใช่เป็นตัวบ่งชี้ผลผลิตมากหรือน้อย ผมคิดว่าปัจจัยที่สำคัญนั้นมาจากการดูแลให้น้ำ-ปุ๋ย และขั้นตอนการปลูกหรือจัดการมากกว่า" "หากอีก 2-3 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ได้ ก็ยังไม่สาย เพราะว่าตอนนี้ต้นทุนการปลูกสบู่ดำไม่สูง เพียง 2,000 บาท ต่อไร่ ต่อ 1 ปีแรก และปีถัดๆ ไปจะต่ำลงมาก เนื่องจากไม่ต้องเตรียมพื้นที่และซื้อต้นพันธุ์ ถ้าอีก 3 ปี มีพันธุ์ใหม่เข้ามา ก็สามารถปลูกแซมระหว่างต้นได้เลย เมื่อต้นพันธุ์ดีเจริญเติบโตขึ้น ก็ทยอยตัดหรือทำลายต้นพันธุ์เก่าทิ้งไป" คุณชัชวาล กล่าว ปัจจุบันนี้ บริษัท ราชาฯ จำหน่ายต้นพันธุ์ให้กับสมาชิกที่สมัครขึ้นทะเบียนแล้ว เพียง 5 บาท ต่อต้นเท่านั้น "เราค้นพบเทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดี ซึ่งมี 3 อย่าง ดังนี้ คือ 1. พืชตัวนี้ต้องการแสงแดดสูง จำเป็นต้องปลูกให้ระยะห่างมาก หรือ 180 ต้น ต่อไร่ และต้องปลูกตามแนวของตะวันออกและตะวันตก เพื่อให้ได้แสงตลอดทั้งวัน เพราะว่าจากการการทดลองพบว่า ต้นที่โดนแสงแดดตลอดทั้งวัน จะให้ผลผลิตที่ดีกว่าต้นที่โดนแสงน้อย 2. ต้องเลี้ยงผึ้ง เพื่อช่วยผสมเกสร ซึ่งประเทศอินเดียทดลองแล้ว และประสบความสำเร็จค่อนข้างดี 3. ควรใส่ฟอสฟอรัสที่ลำต้นด้วย เนื่องจากเราไปพบต้นสบู่ดำที่ขึ้นอยู่ตามจอมปลวก และพบว่ามันเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีมาก ซึ่งเข้าใจว่าในจอมปลวกมีฟอสฟอรัสสูง ส่วนเรื่องสายพันธุ์นั้นผมว่า ช่วงนี้ยังไม่สำคัญเท่าที่ควร ถ้าเรายังรอช้าอยู่ปัญหาขาดแคลนพลังงานจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ" คุณชัชวาล กล่าว พร้อมกับบอกย้ำว่า ประเทศไทยได้เปรียบในการปลูกพืชตัวนี้มาก เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีแสงแดดตลอดทั้งปี และมีที่ดินว่างจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคอีสาน น่าจะมีการส่งเสริมปลูกสักจังหวัดละ 2 ล้านไร่ จีน ยุโรป ไม่สามารถปลูกพืชตัวนี้ได้ เพราะว่าไม่ค่อยมีแสงแดด และอากาศหนาวด้วย ส่วนอินเดียนั้นสภาพภูมิอากาศเหมาะสม แต่มีปัญหามีพลเมืองมาก ทำให้ไม่ค่อยมีพื้นที่ว่าง เพื่อปลูกสบู่ดำ "ประเทศไทยมีศักยภาพปลูกสบู่ดำเป็นพืชเศรษฐกิจมากที่สุด" คุณชัชวาล กล่าวทิ้งท้าย หนึงชุมชนหนึ่งโรงไฟฟ้า คือ สบู่ดำ บีบน้ำมันได้ แล้วยังทำเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)