วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชื่อโครงการ กองทุนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
แผนงาน งานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธงชาติ สอนคำ
ระยะเวลาดำเนินการ ปีงบประมาณ 2553

1. หลักการและเหตุผล
นักเรียนโรงเรียนบ้านบ้านกล้อทอได้จัดตั้งกลุ่มรวมกันเป็นชุมนุมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสนองแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วเกี่ยวกับหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกิจกรรมของกลุ่มได้แบ่งออกเป็นสายการพอเพียงในหลายเรื่องเช่น การปลูกสบู่ดำเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซล(ใบโอดีเซล) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ พพพ.ของกอ.รมน.ในการจัดซื้อพันธุ์กล้าสบู่ดำและเครื่องบีบน้ำมันสบู่ดำในวงเงิน 200,000 บาท (กลุ่มผู้ปลูกสบู่ดำติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ไว้ในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน)มีการบริหารงานในรูปแบบของกลุ่มจำนวน 40 คน
กลุ่มเลี้ยงปลาดุกได้ใช้สถานที่สระน้ำของโรงเรียนบ้านกล้อทอเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และเพื่อการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของนักเรียนและผู้ปกครอง
กลุ่มศึกษาการทำก๊าซชีวภาพ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้นำมูลสัตว์ที่คนส่วนใหญ่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์หรือหรือจะนำมูลสัตว์ไปทำปุ๋ยในเชิงการเกษตรก็ต้องรอเวลาเป็นปีจึงจะนำไปใช้ได้จึงควรนำมาทำให้มูลสัตว์หมดก๊าซก่อน นั่นคือการนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพใช้ในการหุงต้มหรือนำมาปั่นไฟใช้ในครัวเรือนก่อนที่จะนำไปทำปุ๋ยในทางการเกษตรต่อไป
กลุ่มผู้เลี้ยงหมูก็เป็นการปลูกจิตสำนึกในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้เช่นกันกับการเลี้ยงปลาเช่นกัน เนื่องจากราคาเนื้อหมูในท้องตลาดทั่วไปมีราคาค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่องและอาจเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งได้ด้วย ฯลฯ


2. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เป็นการสูญเปล่า
3.2เพื่อปลูกฝังการรักษาพลังงาน
3.3 เพื่อรองรับการใช้พลังงานทดแทน
3.4 เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของพลังงานทดแทน
3.5 เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชสบู่ดำ+มูลสัตว์+ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
3.6 เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มได้นำไปสู่การปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิต

3. เป้าหมาย
3.1 นักเรียนชุมนุมเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 50 คน

4. ระยะเวลาการดำเนินการ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2552-มีนาคม 2553
5. สถานที่ในการจัดกิจกรรมชุมนุมโรงเรียนบ้านกล้อทอ
6. งบประมาณที่ใช้
งบประมาณ
6.1 จัดซื้อพันธุ์หมูพื้นเมือง 10 ตัว +อาหาร ราคา 12,000 บาท
6.2 จัดสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ 1 บ่อ + อุปกรณ์ ราคา 35,000 บาท
6.3 จัดซื้อพันธ์ปลาดุก 2,000 ตัว + อาหาร ราคา 15,000 บาท
6.4 เมล็ดผัก + ปุ๋ย + อุปกรณ์ ราคา 8,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 70,000 บาท
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อดำเนินการแล้วจะเกิดผลต่อสมาชิกกลุ่มชุมนุมเศรษฐกิจพอเพียง (สบู่ดำ+เลี้ยงปลา+ก๊าซชีวภาพ+เกษตรพอเพียง)ดังนี้
1. นักเรียนมีความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น
2. นักเรียนรู้จักหาพลังงานทดแทนมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
3. นักเรียนมีความคิดมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้พลังงาน
4. นักเรียนสามารถเพิ่มผลผลิตในด้านพืชพลังงานมากขึ้น
5. เกิดเงินกองทุนหมุนเวียนไม่สูญเปล่า
7. การวัดผลประเมินผล
- ประเมินผลจากการปฏิบัติงานของนักเรียน
- ประเมินการใช้พลังงานของนักเรียนที่บ้าน
- ประเมินจากผลผลิตที่นักเรียนได้ปฏิบัติ



(ลงชื่อ).............................................ผู้เสนอโครงการ
(นายธงชาติ สอนตำ)
ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านกล้อทอ



(ลงชื่อ).............................................ผู้เห็นชอบโครงการ
(นายอดิศร บุญปาล)
ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านกล้อทอ




(ลงชื่อ).............................................ผู้อนุมัติโครงการ
(นายชาตรี ทัศนีย์พานิช)
นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่จัน

รายงานการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชน
โครงการกองทุนหมุนเวียนเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านกล้อทอ







โดย
นายธงชาติ สอนคำ รหัสนักศึกษา 519280262
เสนอ
อาจารย์ ดร.นิพนธ์
รหัสวิชา 1065213 : การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา (Administration of Educational Resources)




คำนำ
การบริหารการศึกษาหรือหารบริหารโรงเรียนถือเป็นศาสตร์และเป็นศิลป์ของผู้บริหารที่จะต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้งานของการศึกษาหรือของโรงเรียนสามารถขับเคลื่อนไปตามความต้องการของ พรบ.การศึกษา หรือเป็นตามเป้าหมายที่วางไว้ให้จงได้ ดังนั้นการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียนหรือชุมชนหรือหน่วยงานอื่นที่อยู่ในพื้นที่ ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ความขาดแคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น




นายธงชาติ สอนคำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ


















นักเรียนกำลังหมักแก๊ส




แก๊สที่ได้จากการหมักไว้ ๗ วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น