วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

การเดินทางบนเส้นทาง ๑,๒๑๙ โค้ง เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอดในระยะเวลา ๑๕ ปีกว่าๆ กับการทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์(พ่อ)ของชาติ บนความยากลำบากของเด็กน้อยดวงตาใสซื่อที่แฝงไว้ด้วยความหวังอันเลือนลางกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างของชนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ๑๐๐% แต่ไม่แตกต่างตรงความเป็นมนุษย์(ความเป็นคน)ใครบ้างจะรู้ว่าในประเทศไทยของเราจะมีความกันดารที่ห่างไกลความเจริญไกลปืนเที่ยงเช่นนี้ หลายคนบอกว่าเรายากลำบากเหลือเกิน เรามีความทุกข์เหลือเกิน แต่ที่คนกะเหรี่ยงที่นี่มีความทุกข์มากกว่าพวกเราหลายร้อย หลายพันเท่า จนยากที่จะบรรยายเป็นตัวหนังสือสื่อออกมาให้เห็นได้(บรรยายไม่เก่ง)
ผมเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ช่างทุกข์ยาเหลือเกิน แต่เมื่อเทียบกับชีวิติของเด็กๆที่นี่แล้วชีวิตของเราลำบากไม่ได้ครึ่งของชีวิตพวกเขาเลย ผมไม่เคยมีความติดที่อยากจะอยู่ที่นี่(แม่จัน)เลยเพราะบรพบุรุษของผมไม่ใช่กะเหรี่ยง จึงมีความคิดว่าอยู่ไม่ได้แน่ๆเมื่อแรกมาบรรจุใหม๋ๆคิดอยู่อย่างเดียวคือ เมื่ออยู่จนครบทดลองงานแล้วเราต้องเขียนย้ายกลับบ้านให้จงได้ นั่นเป็นความคิดเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ด้วยความที่เป็นลูกชาวไร่ชาวนาไม่มีเส้นสาย ไม่มีญาติพี่น้องที่เป็นใหญ่เป็นโตกับเขา เขียนย้ายกลับบ้าน(อุตรดิตถ์)สามถึงสี่ครั้งก็ไม่มีผลอะไรใดๆเกิดขึ้น เลยตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า "อยู่ที่ไหนๆก็คือประเทศไทยเหมือนกัน คนอยู่ได้ไม่ตาย เราก็คงไม่ตาย" นี่คือความคิดหลังจากที่อยู่ใช้ชีวิตกับกะเหรี่ยงได้ ๓-๔ ปี /จบตอนที่๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น