วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อแนวความคิดในการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดในสถานศึกษา

จากบทเรียนที่ผู้เรียนได้ศึกษา ทำให้ได้ทราบถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันที่มีผลต่อการดำเนินชิตประจำวันของคนเราในทุกภาคส่วนราชการ ที่จำเป็นต้องมีการระบบสารสนเทศให้ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะฉะนั้นเมื่อผู้เรียนมีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดอยากเป็นผู้บริหารขึ้นมาจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ เพื่อการพัฒนาองค์กรของตนเองในปัจจุบันหรืออนาคตที่จะต้องก้าวทันโลกให้จงได้และจะได้ไม่ถูกขนสนนามว่าเป็นเต่าพันปีที่ไม่ยอมรับการพัฒนาหรือไม่เป็นผู้พัฒนาตนเอง
ในมุมมองของของการบริหารงานการบริหารระบบสารสนเทศการให้ความสำคัญของระบบสารสนเทศระบบอิเลคทรอนิคมีความทันสมัยแต่ก็ยังคงไว้ใจกับระบบสมัยใหม่ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลในกรณีที่เทคโนโลยีเกิดความเสียหาย ยกตัวอย่างกรณีของการเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่มีความรอบคอบเมื่อมีการบันทึกผลแล้วและไม่มีการปริ๊นซ์เก็บในรูปของเอกสาร วันดีคืนดีเกิดคอมพิวเตอร์มีปัญหาที่จะต้องมีการซ่อมหรือเปลี่ยนซอฟแวร์ขึ้นมาก็ทำให้เครื่องมือหรือข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องเสียหายไปด้วยอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นการทำงานกับเทคโนโลยีก็ยังคงต้องอาศัยความรอบคอบของคนเป็นสำคัญในการใช้
การบริหารโรงเรียนที่มีขนาดเล็กทรัพยากรที่ไม่เพียงพอไปทุกเรื่องเช่น ทรัพยากรบุคคลมีน้อย ทรัพยากรทางการเงินก็น้อยตามจำนวนนักเรียนด้วยก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาในการบริหารไปกันใหญ่ ในฐานะของผู้บริหารมีแนวคิดอยู่ว่า การบริหารบนความขาดแคลนนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารระบบสารสนเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป มีข้อคิดอยู่ว่าระหว่างคน(บุคลากร)กับเทคโนโลยีสิ่งใดน่าจะมีความสำคัญมากกว่ากันหรือในบางครั้งอาจมีแนวคิดว่าเราควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาแบ่งเบาภาระในยามที่ไม่มีคนเพียงพอหรือไม่ เช่นการจัดการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านดาวเทียมคู่ขนานไปกับของมูลนิธิ”กลกังวลจะดีกว่ามั้ย แต่ก็มีจุดด้อยตรงที่ว่า นักเรียนของเรามักจะใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร นักเรียนของเราจะรับรู้หรือเรียนรู้ได้ทันกับสื่อหรือไม่ หรือว่าเราจะนำเงินอุดหนุนรายหัวไปจ้างครู(บุคลากร)มาช่วยสอนเพื่อเพิ่มจำนวนคนในการทำงานได้มากกว่าหรือไม่อย่างนี้เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านที่จะต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจ เช่นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อนำมามาประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนมีความนึกคิดอยู่เสมอที่มีความสำคัญต่อการบริหารคือ คน(บุคลากร)ในองค์กรควรที่จะมีขวัญกำลังใจที่ดี เพื่อให้การบริหารงานในทุกด้านรวมถึงการบริหารระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ผู้เขียนขอยกตัวอย่างบทความเรื่องบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษาให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษากันสักบทความหนึ่ง


บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษา
วิทยาการก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Economy/Society)
ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education) และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society) การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา จึงต้องเน้น การวางแผนในเชิงรุก โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลก คนมีความสุข ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข การจัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล มากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็นผู้ให้ ผู้ถ่ายทอด มาเป็นผู้ออกแบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนที่มีความแตกต่างกัน วิถีทางการเรียนรู้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการใช้ “ เทคโนโลยีเข้มข้น” ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเราเองเริ่มมีการนำนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี “ อินเทอร์เน็ต” ได้มีการเห็นความสำคัญในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทางด้านการสื่อสาร และกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลต่อเชื่อมอยู่ทั่วทุกมุมโลก อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสื่อสารที่ใหญ่มากจนสามารถตอบสนองความต้องการในการค้นคว้าข้อมูลได้เป็นอย่างดี (วิทยา เรืองพรพิสุทธ์. 2538 : 2) ทำให้เกิดความต้องการในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งทรัพยากรเรียนรู้สำหรับผู้เรียน เช่น การจัดระบบห้องสมุด การบริหารงานของฝ่ายธุรการ การค้นคว้าข้อมูล การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลข้อสนเทศต่างๆ อย่างเป็นประโยชน์สูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐาน ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของการให้บริการข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสานสนเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Computer Time. 2538 : 18) สำหรับประเทศไทย มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในด้านการศึกษา ดังเช่น การศึกษาของ ทิพวรรณ รัตนวงศ์ (2532) ได้ศึกษาแนวโน้มหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ.2545 พบว่าการอุดมศึกษาในอนาคตเทคโนโลยีทางการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนการสอนไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและภายในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป และเรวดี คงสุภาพกุล (2538) ได้ศึกษาการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า สาขาวิชาที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความบ่อยในการใช้ นิสิต นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ใช้ระบบมากกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ และเป็นการใช้ตามสาขาวิชาที่ศึกษา คือ นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์มีความสัมพันธ์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ จะใช้ในงานบริการค้นคว้างานวิจัยค้นคว้าข้อมูลวิชาการ นิสิตนักศึกษามองเป็นอุปสรรคในการใช้ระบบ คือตัวปัญหาของระบบ เนื่องจากระบบมีการใช้งานในความเร็วต่ำ เมื่อมีการใช้พร้อมๆ กันก็จะเกิดการติดขัดต้องมีระบบช่วยแก้ปัญหา ในปัจจุบันได้มีความพยายามจัดสภาพแวดล้อมทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง” (e-learning) ซึ่งเป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้นำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ มีการจัดให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น e-mail, Webboard สำหรับตั้งคำถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบ หลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการเรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียนส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งในประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ จัดการผู้เรียน (LMS : Learining Management System) ระบบจัดการเนื้อหา (CMS : Content Management System) ของตนเอง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ โปรแกรมเว็บ (Web Programming) แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด การเรียนผ่านเว็บ (Web-base Instruction) โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-Learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการ ความพยายามในการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจากแนวคิดของ แฮนแสน ซิลเวอร์ และสตรอง (Hansen, Silver and Strong) ได้แบ่งรูปแบบการเรียน (Learning Styles) ของผู้เรียนโดยทั่วไปออกเป็น 4 ประเภท คือประเภทที่ชอบการเรียนการตรง (Directive) ประเภทที่ชอบการเรียนแบบค้นคว้าด้วยตนเอง (Inquiry) ประเภทที่ ชอบการเรียนแบบสร้างสรรค์ (Creative) และประเภทที่ชอบการเรียนแบบร่วมมือกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม (Cooperative) ผู้เรียนทุกคนจะมีรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบอยู่ในตัวเอง แต่จะมีลักษณะเด่นในรูปแบบหนึ่งเป็นพิเศษมากกว่ารูปแบบอื่น ดังนั้นแม้ว่าจะต้องเรียนในรูปแบบที่ผู้เรียนไม่ชอบหรือไม่ถนัดก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ แต่จะเรียนไม่ได้ดีเท่ากับการเรียนในรูปแบบที่ผู้เรียนชอบหรือถนัด ซิลเวอร์ยังได้ชี้ให้เห็นว่าการกำหนดให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบที่เหมาะกับธรรมชาติของนักศึกษา จะเหมือนกับการบังคับให้นักศึกษาเรียนในรูปแบบที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของนักศึกษา จะเหมือนกับการบังคับให้นักศึกษาเขียนหนังสือด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด นั่นเอง ซึ่งส่งผลให้มีนักศึกษาจำนวนมากที่ถูกจัดให้เป็นคนอ่อนนั้น เป็นเพราะว่านักศึกษาเหล่านี้ต้องเรียนรู้ในรูปแบบหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมกับพวกเขานั้นเอง (Perrin. 1994 : 140)
สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เต็มหลักสูตร แต่ก็ได้เริ่มนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดเป็นนโยบายในระบบการศึกษาไร้พรมแดน แผน มทส. (วิจิตร ศรีสอ้าน. 2541) ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินโดยเริ่มสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่ได้ดำเนินการสอนแบบเต็มหลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็ได้จัดทำโครงการศึกษาทางไกลผ่านวิทยาเขตเสมือนจริง (Virtual University) โดยมีเป้าหมายที่จะทดลองใช้กับนักศึกษาปริญญาโทบางหลักสูตรในปีการศึกษา 2543 และจะขยายใช้กับนักศึกษาปริญญาโททั้งหมด ในระยะต่อไป รวมทั้งการเปิดสอนระดับปริญญาตรีบางหลักสูตรด้วย (มหาวิทยาสุโขทัยธรรมธิราช. 2541) แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้เป็นการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบางรายวิชาเท่านั้น มิได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเต็มหลักสูตร
การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เช่น ปัญหาด้านสถานที่เรียนในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอความต้องการของผู้สมัครเรียน ทำให้ต้องจำกัดจำนวน ในการรับเข้าเรียน แต่การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง นักศึกษาไม่ต้องใช้สถานที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่เรียนจากที่บ้านหรือที่ทำงานจึงสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก และรับได้กระจายทั่วไปจึงช่วยลดปัญหาด้านการกระจุกตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมกันอยู่ในเมืองใหญ่ในตัวเมือง ทำให้นักศึกษาที่อยู่ในชนบทไม่สะดวกในการเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก แต่นักศึกษาที่เรียนผ่านระบบการการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ไม่ต้องเดินทางไปรวมกันที่มหาวิทยาลัย จึงบรรเทาปัญหาการเดินทางไปได้มาก และยังแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านเวลาที่มหาวิทยาลัยปกติจะต้องเรียนในเวลาเดียวกันตามที่กำหนด ไม่สามารถสับเปลี่ยนหรือเลื่อนได้ แต่ในการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในเวลาที่สะดวกได้ซึ่งมีความยืดหยุ่นทางด้านเวลาสูง นอกจากนั้นการมีโอกาสได้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี เมื่อออกไปทำงานจะสามารถทำงานได้ทันที ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว นักการศึกษาจึงมีความพยายามที่จะจัดระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่เหมาะสมกับการศึกษายุคปัจจุบัน
อ้างอิงจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น